เคล็ดลับการเก็บอาหารแช่เเข็ง

เคล็ดลับการเก็บอาหารแช่เเข็ง

 

     การแช่แข็งอาหารเป็นวิธีการเก็บรักษาอาหารที่ง่ายที่สุดเร็ว สะดวกที่สุด การแช่แข็งอาหารอย่างถูกต้องยังจะสามารถรักษาสีรสชาติและและคุณค่าทางโภชนาการอาหารมากกว่าการถนอมอาหารด้วยวิธีอื่นอีกด้วย การทำอาหารไว้ล่วงหน้าสำหรับมื้อต่อไปหรือเก็บไว้นาน ๆ หรือสำหรับร้านอาหารที่กำลังมองหาวิธีการถนอมอาหารสำรับการจัดจำหน่ายไปยังกลุ่มลูกค้าของตนในช่วงกักตุนและปรับตัวกับสถาณการณ์ Covid

     เนื่องจากการแช่แข็งอาหารเป็นวิธีการเก็บรักษาอาหารที่มีความปลอดภัยค่อนข้างมีความปลอดภัยสูง แต่ถ้าหากเราทำการแช่แข็งที่ไม่ถูกวิธีและไม่เหมาะสมก็อาจนำมาซึ่งรสชาติและรสสัมผัสอันไม่พึงประสงค์เมื่อรับประทานได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก การทำอาหารแช่แข็งอาหารนั้น เราสามาทำได้โดยใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในครัวอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยแต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ เมื่อปรุงเสร็จแล้ว ต้องนำอาหารไปแช่เย็นให้เร็วที่สุดเพื่อที่จะลดการสัมผัสสิ่งปนเปื้อนให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้กลิ่นรบกวนเชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปในอาหารก่อนทำการแช่แข็ง

วิธีทำอาหารแช่แข็ง

1.ปรุงอาหารให้สุกก่อนนำไปแช่แข็ง

     เริ่มจากการปรุงอาหารเสร็จแล้วนำไป ใส่หลุมสแตนเลส wrap ปากหลุม ป้องกันสิ่งปนเปื้อน ทำการลดอุณหภูมิอาหารอย่างรวดเร็วถ้าหากให้แนะนำไม่ควรทิ้งไว้นานเกินไปในขณะที่ลดอุณหภูมิหากทิ้งไว้นาน โดยทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที ต่ออาหาร 1 protion อาหาร เช่นผัด ให้คนอาหารในหลุมสแตนเลส และนำไปแช่ในน้ำเย็นจัด ที่มีน้ำแข็งจำนวนมากอยู่ ก็จะช่วยให้อาหารลดอุณหภูมิได้ไวขึ้น เมื่อเย็นลงแล้วเราจะสามารถตกแต่งผักใบอ่อนเป็นขั้นตอนสุดท้ายได้แล้ว

2.นำอาหารที่ปรุงสุกใส่บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม

     กล่องอาหารที่ใช้ควรมีฝาปิดมิดชิด ให้เลือกใช้ วัสดุ PP สาเหตุก็เพราะ PP ปิดได้มิดชิด ป้องการการหกเลอะเหอะนอกภาชนะ หุ้มด้วยถุงพลาสติก แล้วซีลปากถุงให้สนิด ป้องกันกลิ่นอาหารอื่นปนเปื้อนในขณะที่แช่แข็ง หรืออีกทางเลือกหนึ่ง คือนำไป Vaccum จะดีกว่า

3.จัดเตรียมตู้แช่เย็นที่อุณภูมิ -18 , -20 องสา เพื่อการเก็บรักษา

     จากนั้นนำอาหารเข้าช่องแช่แข็งได้เลยไม่ยุ้งยาก อุณหภูมิที่แนะนำในการแช่งแข็ง -18 -20 องสา ถุง Vacuum บางชนิดก็สามารถนำอาหารที่แช่แข็งไปต้มหรือไปอุ่นในน้ำร้อนได้เลย ข้อดีคือบรรจุภัณฑ์ประเภทของ PP และ Vacuum คือสามารถทนความร้อนได้ดีแต่อาจจะมีราคาต้นทุนต่อหน่วยที่ค่อนข้างสูง ถ้าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีราคาถูกก็จะเป็นพวกตระกูล LLPE ที่มีคุณสมบัติในการทนทานต่อความเย็น ถุงประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้บรรจุสิ่งของและรับน้ำหนักได้ดี เช่น ผลไม้ ผัก น้ำแข็ง อาหารแช่เย็น เป็นต้น

4.นำอาหารออกมาอุ่นเพื่อรับประทาน

     แต่จะไม่สามารถนำไปอุ่นหรือละลายในความร้อนได้ต้องนำอาหารแช่แข็งเท่ใส่ภาชนะแล้วค่อยอุ่นกับความร้อนอีกที

 

สิ่งที่ควรคำนิ่งถึงเพื่อความปลอดภัย

-      ป้องกันความเสียหายของอาหารด้วยการใช้สุญญากาศ

-      ป้องกันการสูญเสียความชื้น

-      ป้องกันการเกิดอาหารเป็นพิษในระหว่างที่เพิ่งทำเสร็จและอาหารเริ่มเย็นลงไม่ควรทิ้งนานเกินไป

-      ป้องกันการติดกลิ่นจากอาหารชนิดอื่น ๆ

-      จัดการพื้นที่ในตู้แช่แข็งได้อย่างเหมาะสม

-      ไม่ควรละลายอาหารแช่แข็งในอุณหภูมิห้องและทิ้งไว้นานเด็จขาด เพราะจะทำให้แบคเรียเติญโตได้

-      เมื่อละลายควรทานให้หมดเลยในครั้งเดียว ไม่ควรนำกลับไปแช่เย็นอีก

 

 

LSF Packaging 

Line: @lsfpackaging

Tel. 02-066-9090 , 080-987-9005 , 082-506-0780 

Email : lsfpackaging@gmail.com

Visitors: 1,527,675