วิธีเก็บผักให้สดนานขึ้น 4 ขั้นตอน

วิธีเก็บผักให้สดนานขึ้น 4 ขั้นตอน

1. เก็บผักได้นานขึ้นด้วยการเลือกผักให้ถูกวิธี สิ่งแรกที่ควรทำคือการเลือกผักสดอย่างถูกต้อง เพราะเมื่อได้ผักสดมาแล้วคุณยังมีวิธีเก็บรักษาผักให้ได้นานจะทำให้คุณได้ทานผักสดที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารอีกด้วย

- การเลือกผักประเภทดอก: อย่างเช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี ควรเลือกซื้อผักสดที่มีใบก่อกันแน่นและมีน้ำหนัก ดูความกรอบของใบและใบควรมีสีเขียวเข้ม ก้านแข็ง ไม่เหี่ยวหรือเฉา และไม่มีรอยช้ำรอบ ๆ ไม่เน่าเสีย

- การเลือกผักประเภทผักกาดหอม: ผักกาดขาว ผักกาดแก้ว ผักกาดหอม หรือผักกาดหวาน ต้องเลือกผักสดที่มีใบสีเขียวสด ใบกับโคนต้องติดกันแน่น ไม่มีรอยช้ำต่าง ๆ

- การเลือกผักประเภทลำต้น: เช่นหน่อไม้ฝรั่ง หน่อไม้ ผักบุ้ง ผักรอคเกต ผักบุ้งจีน ควรเลือกที่ลำต้นตรง ไม่หักงอ มีความแน่นและกรอบ

- การเลือกผักประเภทหัว: ต้องเลือกที่เปลือกแห้งสนิท ไม่มีเชื้อรา เปลือกมีความมันวาว เช่น หัวหอม กระเทียม หอมแดง หรือหอมหัวใหญ่

 

2. การล้างผักก่อนเก็บผักในตู้เย็น วิธีการล้างผักที่ถูกต้องก่อนจะเก็บผักในตู้เย็นควรทำอย่างไร 5 วิธีนี้สะอาดไร้สารตกค้างแน่นอน

- ล้างผักให้น้ำผ่านใบผัก สามารถถูเบา ๆ ห้ามขยำหรือถูแรงเกินไป เพื่อลดสารตกค้างก่อนการเก็บผักเข้าไปในตู้เย็นได้

- ใช้เกลือป่น ช่วยชะล้างได้ด้วยการนำเกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำประปา 3 ลิตร ก่อนจะนำผักแช่ลงไปประมาณ 10 นาที และล้างออกด้วยน้ำสะอาด

- น้ำส้มสายชู ก็ช่วยลดสารตกค้างได้เช่นกัน ใช้วิธีเดียวกับเกลือป่นเลยคือตวงน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 3 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 นาที ก่อนจะล้างออก

- เบกกิ้งโซดา เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ได้ผลมากก่อนการเก็บผัก ตวงเบกกิ้งโซดาครึ่งช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำ 10 ลิตร และนำผักสดลงไปแช่ 15 นาที ค่อยล้างออก ซึ่งข้อเสียของการใช้เบกกิ้งโซดาคือ หากล้างไม้สะอาด อาจทำให้เกิดอาการท้องเมื่อรับประทานผักเหล่านี้ เพราะเบกกิ้งโซดาสามารถถูกดูดซึมเข้าสู้ผิวของผักได้

 

3. การแยกเก็บผักในตู้เย็น

เมื่อต้องเก็บผัก หรือเก็บผักสลัดในตู้เย็น สิ่งที่จะช่วยให้เก็บผักได้นานมากขึ้นคือการแยกประเภทของผักก่อน ไม่แนะนำให้เก็บผักทุกชนิดรวมกันเพราะเมื่อผักชนิดใดเน่าเสียง่ายจะทำให้ผักอื่น ๆ เน่าเสียตามไปด้วย และคุณไม่ควรให้ผักสดไปเจอกับความเย็นของตู้เย็นโดยตรง ต้องใช้กล่องสุญญากาศเพื่อแยกเก็บ ความชื้นจะได้ไม่มารบกวนผักของคุณด้วย ทำตามง่าย ๆ กับวิธีเก็บผักตาม 3 ข้อนี้

- แยกเก็บผักที่เสียง่าย: ในการเก็บผักนั้นควรแยกผักบางประเภทที่เน่าเสียได้ง่าย จากการช้ำหรือสาเหตุอื่น ๆ เช่น ผักชี ผักกาดหอม ผักบุ้ง ถั่วงอก การเก็บผักเหล่านี้เก็บได้ไม่นานมากนัก แต่ถ้าอยากเก็บผักให้ได้นานขึ้นต้องแยกออกมาจากผักประเภทอื่น เพื่อที่จะได้ไม่ทำให้ผักชนิดอื่นเน่าเสียตามไปด้วย สามารถเก็บผักเหล่านี้ได้ในกล่องสุญญากาศ หรือกล่องพลาสติกที่แน่ใจว่าความชื้นจะเข้าไปทำลายสภาพของผักเหล่านี้ไม่ได้ และคุณควรรีบรับประทานให้เร็วที่สุด

- แยกเก็บผักที่เก็บได้ในเวลาที่จำกัด: จริงอยู่ที่การเก็บผักในตู้เย็นจะช่วยยืดระยะเวลา แต่ผักเหล่านี้มีระยะเวลาอันสั้นในการเก็บถึงจะไม่ได้เน่าเสียง่ายเหมือนผักกลุ่มแรก คุณก็ควรจะเก็บผักในตู้เย็นและแยกประเภทออกจากกัน ผักในข้อนี้จะเป็นพวกผักกาดขาว หรือตระกูลผักกาดหอม มะเขือเทศ

- แยกเก็บผักที่มีระยะเวลายาวนาน: มาถึงการเก็บผักกลุ่มที่มีระยะเวลายาวนานกว่าผักชนิดอื่น เช่น ฟักทอง ฟัก หรือพืชที่เป็นหัว ๆ แต่ก็ควรรับประทานในระยะเวลาของผักเหล่านี้เช่นกัน

 

4. การเก็บผักสลัดในตู้เย็น

เทคนิคเสริมสำหรับสายสุขภาพที่ต้องการเก็บผักสลัดในตู้เย็นให้คงความสดใหม่เหมือนเพิ่งซื้อมา สามารถทำได้ง่าย ๆ ตามนี้เลย

  1.      แยกผักที่ต้องการใช้ออกมาก่อน
  2.     ถ้าหากว่าผักเริ่มช้ำให้นำผักไปแช่น้ำที่ใส่น้ำแข็งเพื่อรอให้ผักฟื้นตัว ประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง
  3.     รอให้ผักแห้งสนิทก่อน หรืออาจใช้วิธีวางผักสลัดบนกระดาษทิชชู่เพื่อให้ดูดซับน้ำและความชื้นออกมา
  4.    ใช้กระดาษห่อและม้วนผักไม่แน่นเกินพอดี
  5.     ใช้พลาสติกถนอมอาหารห่อหุ้มไปอีกชั้น
  6.    ทำการเก็บผักสลัดในตู้เย็นได้เลย
Visitors: 1,527,674