พลาสติกย่อยสลายได้

พลาสติกย่อยสลายได้

   พลาสติกบางชนิดไม่ย่อยสลายในธรรมชาติ หรือใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายยาวนาน ขยะพลาสติกบางชนิดใช้เวลาในการย่อยสลายมากกว่าร้อยปีในการย่อยสลาย จึงเกิดการตกค้างในธรรมชาติส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร โดยเฉพาะกับสัตว์ทะเล นอกจากนี้ ยังมีการตรวจพบ "อนุภาคพลาสดิกขนาดเล็กหรือไมโครพลาสติก (Microplastics)" ในท้องของสัตว์ทะเล โดยไมโครพลาสติกชิ้นเล็กระดับไมโครเมตรที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เกิดจากการแตกสลายของขยะพลาสติก หรือจากผลิตภัณฑ์พลาสติกบางชนิด เช่น ไมโครบีดส์ เม็ดสครับ ไมโครพลาสติกไม่เพียงแค่ตกค้างในธรรมชาติ แต่ยังสามารถดูดซับสารพิษ เช่น โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง ซึ่งเมื่อสัตว์น้ำบริโภคไมใครพลาสติกเข้าสู่ร่างกาย ก็จะได้รับสารพิษที่สะสมอยู่ในไมโครพลาสติกเข้าไปด้วย

 

ได้อย่างไรว่าพลาสติกที่ใช้อยู่เป็นพลาสติกย่อยสลายได้แบบ EDP ?

          ตัวชี้วัดสำคัญที่แสดงว่าพลาสติกย่อยสลายได้แบบ EDP คือ การวัดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมาตรฐาน มอก.17088-2555 และมาตรฐานพลาสติกที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ กำหนดให้ คาร์บอนต้องเปลี่ยนเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นตามทฤษฎีภายในระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน และให้ดูการรับรองมาตรฐานต่าง ๆ มี IS0 17088 ที่เป็นมาตรฐานสากล และมาตรฐานที่ใช้ในแต่ละประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกาใช้มาตรฐาน ASTM D6400 ยุโรปใช้มาตรฐาน EN 13432 ส่วนประเทศไทยใช้มาตรฐาน มอก.17088-2555

พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ มีอายุกรย่อยสลายสั้นกว่าพลาสติกทั่วไป อาจช่วยลดปัญหาเรื่องพื้นที่การฝังกลบได้บ้างหรือดูเหมือนจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่พลาสติกเหล่านี้อาจแตกสลายไม่สมบูรณ์เกิดเป็นไมโครพลาสติกซึ่งมีผลต่อสิ่งมีชีวิตตังที่มีรายงาน นอกจากนี้ พลาสติกแต่ละชนิดต้องการ การจัดการไม่เหมือนกันและมีค่าใช้จ่ายในการจัดการพลาสติก ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด ด ควรลดการใช้พลาสติก หรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนพลาสติก รวมทั้งลดการสร้างขยะเพื่อรักษาโลกของเรากันเถอะ

 

อ้างอิงจาก www.scimath.org

Visitors: 1,527,634